ttb 56-1 One Report 2021 (TH)

ธนาคารอย่างต่อเนื่อง ธนาคารได้บริหารและติดตามดูแลการกระจุกตัวของสินเชื่อในแต่ละภาคธุรกิจ กลุ่มภาคธุรกิจ ประเทศคู่สัญญา กลุ่มลูกค้า และลูกค้าแต่ละราย โดยก� ำหนดวงเงินสินเชื่อสูงสุดในแต่ละภาคธุรกิจ กลุ่มภาคธุรกิจ ประเทศคู่สัญญา วงเงินการก� ำกับลูกหนี้รายใหญ่ตามเกณฑ์ ธปท. และวงเงินควบคุมการกระจุกตัวของสินเชื่อ ของกลุ่มลูกค้าและลูกค้าแต่ละรายรวมผู้ที่เกี่ยวข้องตามเกณฑ์ภายในของธนาคาร เพื่อบริหารฐานะความเสี่ยง ด้านเครดิตที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้และมีการกระจายตัวอย่างเหมาะสม รวมถึงหลีกเลี่ยงฐานะความเสี่ยงที่มากเกินไปในแต่ละภาคธุรกิจ กลุ่มภาคธุรกิจ ประเทศคู่สัญญา กลุ่มลูกค้า และลูกค้าแต่ละราย 2.2.1.2 นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการให้สินเชื่อ 1) นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการจัดชั้นสินทรัพย์ และการกันเงินส� ำรอง ธนาคารมีการจัดชั้นสินทรัพย์และการกันส� ำรองสอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งได้ก� ำหนด ให้ธนาคารต้องมีนโยบายและแนวทางอย่างชัดเจนให้สอดคล้องกับมาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ ฉบับที่ 9 (IFRS 9) ธนาคารพิจารณาจัดชั้นตามคุณภาพเครดิตของลูกหนี้ซึ่งประเมินจากปัจจัยเชิงปริมาณและ เชิงคุณภาพ โดยได้มีการจัดชั้นสินเชื่อธุรกิจ (Commercial Loan) เป็นรายลูกหนี้ ส่วนสินเชื่ออุปโภคบริโภค หรือลูกหนี้ รายย่อย (Retail Loan) ได้มีการจัดชั้นเป็นรายบัญชี แต่หากลูกหนี้รายใดใช้สินเชื่อทั้ง 2 ประเภท ธนาคารจัดชั้น ตามรายลูกหนี้โดยจัดชั้นตามบัญชีที่เลวร้ายที่สุดของบัญชีทั้งหมด ธนาคารมีการตั้งส� ำรองตามผลขาดทุนด้านเครดิต ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น รวมทั้งพิจารณาตั้งส� ำรองส่วนเพิ่มโดยผู้บริหาร (Management Overlay) เมื่อสมมติฐานหรือข้อมูล ที่น� ำมาใช้ค� ำนวณผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นไม่สามารถบ่งชี้สถานการณ์ปัจจุบันของธนาคาร ณ วันที่รายงาน ได้อย่างเพียงพอ 2) นโยบายการกันเงินส� ำรองส� ำหรับภาระผูกพันนอกงบแสดงฐานะการเงิน ธนาคารมีการประมาณการเงินส� ำรองส� ำหรับรายการภาระผูกพันนอกงบแสดงฐานะการเงินตามประกาศของธนาคาร แห่งประเทศไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันส� ำรองของสถาบันการเงินในกรณีที่ 1) ภาระผูกพันนั้น เกิดจากการประกอบธุรกิจของธนาคาร และ 2) มีโอกาสสูงที่ธนาคารต้องจ่ายช� ำระภาระผูกพัน และ 3) ภาระผูกพัน นั้นสามารถประมาณการได้อย่างน่าเชื่อถือ 3) นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสินเชื่อที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยส� ำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต (ชั้นที่ 2 หรือ Under Performing Loans) และการบริหารสินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิต (ชั้นที่ 3 หรือ Non-Performing Loans) ธนาคารตระหนักดีว่าการบริหารสินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิต (Non-Performing Loans) และสินเชื่อที่มีการเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยส� ำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต (Under-Performing Loans) เป็นเรื่องที่มีผลส� ำคัญต่อผลประกอบการ ของธนาคาร เพื่อให้มั่นใจในความเป็นอิสระ ธนาคารจึงได้ตั้งที่หน่วยงานที่ปรึกษาบริหารการเงินพิเศษ (Special Advisory Banking Services: SABS) ในแนวป้องกันระดับที่ 1 ซึ่งท� ำงานร่วมกับหน่วยงานพิจารณาสินเชื่อพิเศษ (Credit Restructuring Underwriting) ในแนวป้องกันระดับที่ 2 เพื่อป้องกันสินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิต โดยใช้หลักการการเข้าไปด� ำเนินการแก้ไขปัญหาก่อนเกิดและการแก้ไขปัญหาที่รวดเร็วและติดตามดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ บนมาตรฐานเดียวกัน เพื่อท� ำให้สินเชื่อมีปัญหากลับมาเป็นสินเชื่อที่ไม่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยส� ำคัญของความเสี่ยง ด้านเครดิต (ชั้นที่ 1 หรือ Performing Loans) ตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานพิจารณาสินเชื่อพิเศษที่ต้องการให้มั่นใจ ในคุณภาพของการปรับโครงสร้างหนี้และความถูกต้องของการจัดชั้นลูกหนี้ ทั้งนี้ หน่วยงานที่ปรึกษาบริหาร การเงินพิเศษ (SABS) มีการดูแลลูกหนี้ที่คาดว่าจะเริ่มผิดนัดช� ำระหนี้ หรือแสดงสัญญาณเตือนเริ่มแรก (Early 103 แบบ 56-1 One Report 2564

RkJQdWJsaXNoZXIy ODEyMzQ3