ttb 56-1 One Report 2021 (TH)

Warning Sign) หรือเคยเกิดภาวะที่มีความเสี่ยงเป็นสินเชื่อ มีการด้อยค่าด้านเครดิต (ชั้นที่ 3) โดยเฉพาะลูกหนี้กลุ่มที่ ถูกจัดชั้นเป็นชั้นที่ 2 ที่ต้องได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิดเพื่อความรวดเร็วในการติดตามควบคุมด� ำเนินการป้องกัน ซึ่ง SABS Manager มีหน้าที่ประสานงานร่วมเจรจากับลูกหนี้เพื่อให้ตรวจหาสาเหตุและระดับของปัญหา และก� ำหนด แนวทางการแก้ไขเบื้องต้นที่เหมาะสมกับปัญหาของลูกหนี้ อาทิ ในกรณีของการขาดสภาพคล่องระยะสั้นส� ำหรับลูกหนี้ ที่ยังสามารถด� ำเนินกิจการต่อไปได้ ธนาคารอาจพิจารณาขยายระยะเวลาการช� ำระหนี้ ปรับปรุงวงเงิน ส่วนในกรณี ของการประสบปัญหาระยะยาว เช่น การแข่งขันที่สูงขึ้นหรือการลดลงของยอดขาย ธนาคารอาจพิจารณาปรับปรุง โครงสร้างหนี้ตามศักยภาพและความสามารถในการช� ำระหนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย ระเบียบ และวิธีปฏิบัติของธนาคาร ทีมเอกสารสัญญาและระเบียบปฏิบัติ (Documentation) และทีมกฎหมาย (Legal Strategy) มีการประสานงานกับทีมพัฒนากลั่นกรองคุณภาพหนี้ เพื่อจัดเตรียมเอกสารที่ส� ำคัญอย่างเหมาะสม ในการติดตามผลการด� ำเนินงานนั้น ทีมติดตามการช� ำระหนี้ (Monitoring) ได้มีการดูแล ติดตามการปฏิบัติตามเงื่อนไขในมาตรการต่าง ๆ อย่างใกล้ชิดโดยประสานงานกับ ทีมพัฒนากลั่นกรองคุณภาพหนี้ จนกว่าความเสี่ยงของลูกหนี้จะกลับสู่สภาวะปกติและจัดชั้นเป็นหนี้ปกติ ส� ำหรับลูกหนี้ที่มีการด้อยค่าด้านเครดิต (ชั้นที่ 3 หรือ Non-performing Loans) และเพื่อเป็นการรับประกันว่า แผนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เป็นไปตามนโยบายของธนาคารและเกณฑ์ทางกฎหมาย ทีมที่ปรึกษาบริหาร การเงินพิเศษ มีการประสานงานกับทีมกฎหมายเพื่อพิจารณาหากลยุทธ์ที่เหมาะสมก่อนเจรจากับลูกหนี้ ทั้งนี้ ธนาคาร อาจพิจารณาตัดสินใจขายลูกหนี้มีการด้อยค่าด้านเครดิตที่ไม่มีศักยภาพในการด� ำเนินธุรกิจต่อไปและไม่สามารถตกลง ท� ำแผนปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้ ไม่ว่าลูกหนี้รายกลุ่มหรือรายบัญชี เพื่อให้การจัดการลูกหนี้มีการด้อยค่าด้านเครดิต เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 2.2.2 ความเสี่ยงด้านตลาด ความเสี่ยงด้านตลาด หมายถึง ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในราคาของปัจจัยเสี่ยงด้านตลาด ซึ่งปัจจัยหลักประกอบด้วย ความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ความเสี่ยงจากราคาตราสารทุน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ในการบริหารความเสี่ยง ธนาคารได้จัดให้มีนโยบายการบริหารความเสี่ยงด้านตลาดในด้านต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นมาตรฐานและแนวทางส� ำหรับการบริหารความเสี่ยงด้านตลาด หน่วยงานธุรกิจที่ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบ ในการบริหารความเสี่ยงด้านตลาดมีหน้าที่ปฏิบัติงานดังกล่าวภายใต้มาตรฐานที่ได้ก� ำหนดไว้ในนโยบาย ในขณะที่ หน่วยงานบริหารความเสี่ยงด้านตลาดเป็นหน่วยงานอิสระที่ท� ำหน้าที่ดูแลความเสี่ยงด้านตลาดโดยรวมของธนาคาร ธนาคารควบคุมความเสี่ยงด้านตลาดโดยก� ำหนดเพดานความเสี่ยงให้อยู่ภายใต้ความเสี่ยงสูงสุดที่ธนาคารยอมรับได้ ที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการธนาคาร ซึ่งความเสี่ยงด้านตลาดที่ส� ำคัญดังกล่าวมีดังนี้ 2.2.2.1 ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน (Foreign Exchange Risk) หมายถึง ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อรายได้และ/หรือมูลค่า ส่วนของผู้ถือหุ้นของธนาคารจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ซึ่งอาจเกิดจากฐานะ ทั้งในงบดุลและนอกงบดุลที่อยู่ในบัญชีเพื่อการค้าและ/หรือบัญชีเพื่อการธนาคาร ทั้งนี้ ความเสียหายดังกล่าวอาจมี สาเหตุจากมูลค่าที่ลดลงเนื่องจากการแปลงมูลค่าเงินตราต่างประเทศของฐานะที่ถืออยู่รวมทั้งการขาดทุนจากธุรกรรม การค้าเงินตราต่างประเทศหรือการแปลงมูลค่าจากเงินสกุลหนึ่งเป็นเงินอีกสกุลหนึ่ง 104 ธนาคารทหารไทยธนชาต จำ �กัด (มหาชน)

RkJQdWJsaXNoZXIy ODEyMzQ3