ttb 56-1 One Report 2021 (TH)

บริหารเงิน (Balance Sheet Management) เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารสภาพคล่องในระดับภาพรวม โดยมีธุรกิจ ตลาดเงิน (Capital Markets) เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารสภาพคล่องรายวัน นอกจากนี้ บริหารเงินยังท� ำหน้าที่ วัดและติดตามสถานะสภาพคล่อง และบริหารให้เป็นไปตามกรอบความเสี่ยงที่ได้รับอนุมัติ และรายงานการบริหาร สภาพคล่องต่อคณะกรรมการบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน ส่วนบริหารความเสี่ยงด้านตลาด (Market Risk Management) ท� ำหน้าที่ ระบุ ติดตาม และควบคุมความเสี่ยงด้านสภาพคล่อง ในการบริหารสภาพคล่อง ธนาคารมีการติดตามดูแลแหล่งเงินทุนและความสามารถในการเข้าถึงตลาดทุนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งให้ความส� ำคัญในการถือครองสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็วหรือสามารถใช้เป็น หลักประกันในการระดมเงินทุนได้ เมื่อพิจารณาแหล่งเงินทุนของธนาคาร โดยส่วนใหญ่แหล่งเงินทุนที่ส� ำคัญของธนาคารมาจากเงินฝาก โดยธนาคาร มีกลยุทธ์ในการจัดหาเงินทุนจากเงินฝากอย่างต่อเนื่องเพื่อเสริมสร้างฐานะทางการเงินให้แข็งแกร่งและมีผลประกอบการ ที่น่าพอใจอันจะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้แก่ลูกค้าและผู้ฝากเงิน ธนาคารให้ความส� ำคัญในการบริหารความเสี่ยง ด้านสภาพคล่อง โดยรักษาระดับสินทรัพย์สภาพคล่อง และติดตามระดับความเสี่ยงเป็นรายวัน และรายเดือน รวมทั้ง ก� ำหนดขอบเขตส� ำหรับตัวบ่งชี้ระดับความเสี่ยง (Risk Indicators) และการด� ำเนินการต่าง ๆ เพื่อควบคุมความเสี่ยง ให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ นอกจากนี้ธนาคารได้จัดท� ำแผนรองรับเหตุฉุกเฉินด้านสภาพคล่อง เพื่อใช้เป็นแนวทางใน การปฏิบัติภายใต้สถานการณ์วิกฤตที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งมีการระบุถึงบทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แผนการจัดหาเงินทุน แผนการสื่อสารและติดต่อกับลูกค้า เป็นต้น 2.2.4. ความเสี่ยงที่มิใช่ด้านการเงิน ความเสี่ยงที่มิใช่ด้านการเงิน (Non-financial risk) หมายถึง ความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายทั้งที่เป็นตัวเงินและ ไม่เป็นตัวเงิน เช่น การถูกลงโทษตามกฎหมายหรือกฎระเบียบของทางการ หรือความเสียหายต่อชื่อเสียง อันเป็นผลมาจาก ความไม่เพียงพอหรือความบกพร่องของกระบวนการปฏิบัติงานภายใน บุคลากร ระบบงานของธนาคาร การไม่ปฏิบัติ ตามกฎหมายหรือกฎระเบียบของทางการ หรือจากเหตุการณ์ความเสี่ยงภายนอกธนาคาร การบริหารความเสี่ยงที่มิใช่ด้านการเงินของธนาคารด� ำเนินการโดยผ่านโครงสร้างการก� ำกับดูแลซึ่งมีคณะกรรมการ ธนาคารเป็นผู้รับผิดชอบระดับสูงสุดในการบริหารความเสี่ยงของทั้งองค์กร คณะกรรมการธนาคารได้มอบอ� ำนาจให้กับ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงที่มิใช่ด้านการเงินระดับธนาคาร (Bank Non-Financial Risk Committee: BNFRC) และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Non-Financial risk Committee: IT NFRC) ซึ่งมีประธานเจ้าหน้าที่บริหารเป็นประธานคณะกรรมการท� ำหน้าที่ในการบริหารจัดการความเสี่ยงที่มิใช่ด้านการเงิน และความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของธนาคารและบริษัทย่อย โดยด� ำเนินการก� ำหนดกลยุทธ์เพื่อให้มั่นใจว่า มีการจัดการนโยบายและก� ำกับดูแลอย่างเหมาะสมและครอบคลุมครบถ้วนในทุก ๆ ระดับ อีกทั้งก� ำกับดูแลประเด็น ความเสี่ยง รวมถึงการติดตามการแก้ไขประเด็นความเสี่ยงที่พอเพียงตามนโยบาย และมาตรฐานขั้นต� ำของการบริหาร ความเสี่ยงที่มิใช่ด้านการเงิน ธนาคารได้จัดให้มีคณะกรรมการด้านความเสี่ยงที่มิใช่ด้านการเงิน (Non-Financial Risk Committee) อีก 3 คณะในระดับ สายงานธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วย ธุรกิจรายย่อย ธุรกิจรถยนต์ และธุรกิจพาณิชย์ โดยมีประธานเจ้าหน้าที่ลูกค้าธุรกิจเป็น ประธานและขึ้นตรงต่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงที่มิใช่ด้านการเงินระดับธนาคาร (BNFRC) เพื่อให้การบริหาร ความเสี่ยงมีประสิทธิผลทั่วทั้งองค์กร 106 ธนาคารทหารไทยธนชาต จำ �กัด (มหาชน)

RkJQdWJsaXNoZXIy ODEyMzQ3