ttb 56-1 One Report 2021 (TH)

คณะกรรมการธนาคารรับผิดชอบในการบริหารความเสี่ยงในภาพรวมของธนาคารและกระจายอ� ำนาจให้กับคณะกรรมการ ชุดย่อยในการตัดสินใจในเรื่องความเสี่ยงด้านต่าง ๆ ดังนี้ คณะกรรมการก� ำกับความเสี่ยง เป็นอนุกรรมการของคณะกรรมการธนาคารโดยมีบทบาทและความรับผิดชอบที่ชัดเจน ตามที่คณะกรรมการธนาคารมอบหมาย โดยมีหน้าที่ก� ำกับดูแลกรอบการก� ำกับดูแลความเสี่ยงของธนาคารรวมถึงดูแล ให้มีความสอดคล้องของกรอบการก� ำกับดูแลความเสี่ยงกับกรอบการก� ำกับดูแลโดยรวมของธนาคาร โดยทุกไตรมาส หน่วยงานบริหารความเสี่ยงมีหน้าที่รวบรวมรายงานการก� ำกับดูแลความเสี่ยงประจ� ำไตรมาส ซึ่งให้ภาพรวมข้อมูลเชิงลึก ที่ส� ำคัญของแต่ละความเสี่ยงเพื่อให้คณะกรรมการก� ำกับความเสี่ยงสามารถปฏิบัติงานได้ คณะกรรมการความเสี่ยงชุดย่อยก� ำกับดูแลความเสี่ยงเฉพาะด้านและรับผิดชอบเพื่อให้มั่นใจว่าความเสี่ยงในแต่ละด้านมีการ จัดการที่เหมาะสมสอดคล้องกับการบริหารความเสี่ยงโดยรวม มีดังนี้ 1. คณะนโยบายบริหารความเสี่ยง ก� ำกับดูแลความเสี่ยงด้านเครดิตให้มีการควบคุมอย่างเพียงพอ ภายใต้นโยบาย แนวทาง กรอบการด� ำเนินงาน มาตรฐานการด� ำเนินงาน ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ อ� ำนาจในการอนุมัติ กระบวนการ และแบบจ� ำลอง ที่สมบูรณ์และเป็นปัจจุบัน รวมถึงดูแลให้ความเสี่ยงที่มีอยู่ (Inherent Risk) ในผลิตภัณฑ์ด้านเครดิต และโปรแกรมที่เกี่ยวข้องได้รับการจัดการ รายงาน และปรับลดความเสี่ยงอย่างเหมาะสม 2. คณะกรรมการบริหารพอร์ตสินเชื่อ ก� ำกับดูแลผลการด� ำเนินงานของพอร์ตสินเชื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทั้งการด� ำเนินงาน ของแต่ละหน่วยธุรกิจและหน่วยงานบริหารความเสี่ยงในเชิงกลยุทธ์ทั้งในระยะสั้นและในระยะยาว 3. คณะกรรมการ IFRS 9 ECL พิจารณาและอนุมัติระดับเงินส� ำรองจากแบบจ� ำลองผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่า จะเกิดขึ้น ภายใต้มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศฉบับที่ 9 (IFRS 9) และนอกจากนี้ยังพิจารณา และอนุมัติเงินส� ำรองส่วนเพิ่ม ตามความจ� ำเป็นเพื่อให้ครอบคลุมส� ำหรับพอร์ตสินเชื่ออย่างเหมาะสม 4. คณะกรรมการความเสี่ยงด้านกฎหมาย พิจารณาและอนุมัติเรื่องที่เกี่ยวกับ ISDA Schedule และสัญญาอนุพันธ์ ทางการเงิน 5. คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงที่มิใช่ด้านการเงินระดับธนาคารและคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ ก� ำกับดูแลการพัฒนาและการปฏิบัติตามนโยบาย และมาตรฐานขั้นต� ำเกี่ยวกับความเสี่ยงที่มิใช่ ด้านการเงิน เพื่อให้มั่นใจว่าการบริหารความเสี่ยงที่มิใช่ด้านการเงินและความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในธนาคารและบริษัทย่อย เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพในทุกระดับอย่างเหมาะสม และเพื่อให้มั่นใจว่าประเด็นที่ส� ำคัญ เกี่ยวกับความเสี่ยงที่มิใช่ด้านการเงินในแต่ละธุรกิจได้มีการเฝ้าระวังอย่างเหมาะสม ธนาคารได้จัดตั้งคณะกรรมการ บริหารความเสี่ยงที่มิใช่ด้านการเงินระดับหน่วยธุรกิจ ส� ำหรับธุรกิจรายย่อย ธุรกิจรถยนต์ และธุรกิจพาณิชย์ โดยขึ้นตรงต่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงที่มิใช่ด้านการเงินระดับธนาคาร 6. คณะกรรมการควบคุมธุรกิจการเงิน บริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการระหว่างสายงานธุรกิจ และหน่วยงานบริหาร ความเสี่ยง โดยมีเป้าหมายหลักในการควบคุมความเสี่ยงในการด� ำเนินธุรกิจและกระบวนการควบคุมธุรกรรม ของตลาดการเงินตั้งแต่การอนุมัติและทบทวนผลิตภัณฑ์จนสิ้นกระบวนการด้านกิจกรรมตลาดการเงินของธนาคาร โดยคณะกรรมการควบคุมธุรกิจการเงินดังกล่าวรายงานต่อคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงที่มิใช่ด้านการเงินระดับธนาคาร 98 ธนาคารทหารไทยธนชาต จำ �กัด (มหาชน)

RkJQdWJsaXNoZXIy ODEyMzQ3